วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ขันครู ขันตั้ง (พานเครื่องครู)

ขันครู ขันตั้ง (พานเครื่องครู)


            ขัน ในภาษาเหนือ หมายถึง พาน ในภาษากลาง เป็นภาชนะที่ใช้สำหรับการบรรจุของเพื่อใช้ในแง่ของความเชื่อความศักดิ์สิทธิ์ หรือใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ที่มีชื่อขันมากมายเรียกตามวิธีการใช้งานและวัตถุประสงค์ที่ใช้ทำขัน เช่นใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับผีก็เรียกว่า “ขันผี” ถ้านำไปใช้ในการทำสังฆกรรมของพระสงฆ์ในอุโบสถก็จะเรียกว่า “ขันอุโบสถ” ใส่ดอกไม้ประเคนพระเพื่อขอรับศีลก็จะเรียกว่า “ขันขอศีล” เป็นต้น ส่วนที่เรียกชื่อตามวัสดุที่ใช้ทำ เช่น ทำด้วยเงินเรียกว่า “ขันเงิน” ทำด้วยทองแดงหรือทองเหลืองเรียกว่า “ขันตอง” ทำด้วยไม้ก็จะเรียกว่า “ขันไม้ เรื่องของขนาดความใหญ่หรือเล็กเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานเท่านั้น รวมแล้วก็คือขันเป็นภาชนะที่ใช้บรรจุของเพื่อใช้บูชาหรือใช้ในพิธีกรรมต่างๆ

            การทำขัน นอกจากทำด้วยทองคำ เงินและทองแดงแล้วก็ยังมีด้วย ไม้จิง และสานด้วยไม้ไผ่ ทั้งนี้ ขัน ไม้ จิงนั้นจะทำให้ขึ้นรูปได้เรียบร้อยด้วยการเฆี่ยนหรือการกลึง ซึ่งการกลึงจากไม้จิงก็ไม่มีขึ้นตอนทำอะไรมาก แต่การสานมีขั้นตอนมากกว่า การสานส่วนมากจะสานด้วย ไม้ไผ่เรี้ย (อ่าน 
” ไม้เฮี้ย ” ) เพราะเนื้อเหนียวกว่าไม้ไผ่ชนิดอื่น จะจักตอกให้บางกย่างไรก็ได้ ใบขันใช้วิธีสาน ส่วนตีนขันจะมีแบบครึ่งสานและแบบคาด ช่างบ้างคนจะใช้วิธีสาน โดยจะสานเป็นตัวในก่อนแล้วจึงคาดด้วยตอกทำลวดลายอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเป็นขันดอกที่ใช้ตามวัดจะมีขนาดใหญ่และสวยงาม ส่วนขันที่สานด้วยตอกไม้ไผ่เรี้ยจะมี 2 ขนาด คือ ตอกตัวยืนมีขนาดใหญ่ ตอกตัวสานมีขนาดเล็ก เมื่อได้ใบขันแล้วก็จะคาดเคียน แอวขัน คือแอวของพานและตีนขัน คือใช้ตอกขนาด ๐.๕-๑.๐ เซนติเมตร พันทับกันเป็นวงกลมเหลื่อมให้ขึ้นรูปแล้วทาด้วยยางไม้ หรือน้ำรัก

            เมื่อทั้งตัวขันและแอวขันเสร็จแล้วจึงนำส่วนตีนมาติดเข้ากับใบขันโดยใช้น้ำรัก เมื่อรักแห้งดแล้วทาด้วยน้ำรัก เมื่อรักแห้งดีแล้วทาด้วยน้ำรักผสมหาง (ชาด) ให้เรียบ แล้วจึงตกแต่งลายประดับด้วยชาดอีกทีหนึ่งให้เป็นลวดลายต่างๆ ตามที่ต้องการ
            ขันหรือพาน เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องคำนับต่างๆนี้จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ปริมาณของเครื่องคำนับที่บรรจุนั้น ขัน อาจเป็น ขันแดง หรือพานที่ทำด้วยไม้ไผ่ทาชาดซึ้งมีขาดต่างๆ อาจเป็น ขันสี้ หรือ ขันตีนถี่ คือ พานที่ส่วนลำตัวเป็นซี่ไม้กลึงเรียงรอบเพื่อรับน้ำหนักทั้งหมด และหากไม่มีขันแบบกว่า ก็อาจใช้พานแบบใหม่ที่ทำด้วยทองเหลืองหรืออลูมิเนียม แม้กระทั่งกะละมังก็อาจนำมาใช้ได้เช่นกัน

            นอกจากที่ขันจะหมายถึงภาชนะที่ใช้งานอย่างพานของภาคกลางแล้ว คำว่า ขัน ของ ล้านนายังรวมเรียกลวดลายทางสถาปัตยกรรมหรือการทอผ้าในส่วนที่มีรูปคล้ายกับ พานว่าขันได้อีกด้วย เช่น ส่วนของเจดีย์ที่ฐานผายเอวคอด และมีส่วนบานขึ้นมาต่อรับนั้น ก็เรียกส่วนนั้นว่าขัน และรวดลายในผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งทอให้มีลักษณะละม้ายพานก็เรียกส่วนนั้นว่าขันอีกด้วยเช่นกัน
            ขัน อันหมายถึงชุดเครื่องคารวะสำหรับพิธีต่างๆนั้นพบว่ามีระดับต่างๆ ตามจำนวนชุดของเครื่องคารวะ คือ ขันเครื่อง ๔ 
๘ ๑๒ ๑๖ ๒๔ ๓๖ และ ขันเครื่อง ๑๐๘ ซึ่งเมื่อศึกษาจากรายละเอียดแล้วเห็นว่า
            คำว่า ขัน ในกรณีดังกล่าว มีความหมายเหมือนกับสะทวง (อ่านว่า 
“ สะตวง ” ) หรือกระบะบัตรพลีที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ทั่วไปนั้นเอง

ขันแก้ว ๕ โกฐาก


            ขันแก้ว ๕ โกฐาก เป็น พานใส่ข้าวตอกดอกไม้ ขันหรือพานนั้นจะเป็นพานทำด้วยไม้หรือเงินก็ดีที่เป็นทรงกลมและมีขาดใหญ่พอ สมควร ขันชนิดนี้ชาวบ้านอาจเรียกอีกอย่างง่ายๆว่าขัน ๕ เพราะจะจัดว่างดอกไม้ธูปเทียนเป็น๕ โกฐาก หรือ๕กอง เพื่อบูชาองค์คุณแห่งความดีงาม ๕ ส่วนนี้
•  พุทธรัตนโกฐาก หรือส่วนที่จัดไว้บูชาพระพุทธเจ้า
•  ธรรมรัตนโกฐาก หรือส่วนที่จัดไว้บูชาพระธรรม ได้แก่ พระนวโลกุตตธรรม ๙ ประการ และปริยัติธรรม ๑ รวมเป็น ๑๐ ประการ
•  สังฆรัตนโกฐาก หรือส่วนที่จัดไว้บูชาพระสงฆ์ อันมีพระอัญญาโกฑัญญเถร เป็นประธาน•  ครุฎฐานิยรัตรโกฐาก ส่วนที่จัดไว้บูชาบิดามารดา ครู อุปัชฌาย์
•  กัมมัฎฐานรัตนโกฐาก ส่วนที่จัดไว้เพื่อบูชาพระกัมมัฎฐานอันเป็นที่ตังแห่งการบำเพ็ญจิตใจ ขัน ๕ นี้จะจัดไว้ระหว่าง ขันแก้วทั้ง ๓ และขันศีล ในวันศีลหรือวันธรรมสวนะที่ชาวบ้านไปประชุมกันในวิหารเพื่อบำเพ็ญกุศลนั้น เมื่อใส่ข้าวตอกดอกได้ที่ ขันแก้วทั้ง ๓ แล้วก็จะใส่
            ขัน ๕ โกฐาก ในโอกาสดังต่อไปนี้
๑. งาน ฉลองสมโภชถาวรวัตถุในพุทธศาสนา เช่น ฉลองพระเจดีย์ พระวิหาร พระอุโบสถ ซึ่งพระสงฆ์ผู้เป็นประธานจะโยงงคือถือพานนี้แล้วกล่าวคำนมัสการก่อนจะเริ่ม พีธีเจริญพระพุทธมนต์
๒. ใช้โยงหรือกล่าวนมัสการ เวลาจะเริ่มบำเพ็ญภาวนาอุบาสก อุบาสิกา ในวันอุโบสถ
๓. ในพิธีอบรมหรือพุทธาภิเษกพระพุทธรูปใหม่หรือวัตถุมงคลต่างๆ
๔. ในการสวดมนต์ทุกวันของพระสงฆ์ บางวัดหลังจากสวดมนต์แล้วจะบำเพ็ญภาวนาต่ออีก พระภิกษุผู้เป็นประธานสงฆ์จะโยงขันแก้ว ๕ โกฐากเสมอ
๕. เมื่อชาวบ้านประกอบกิจกรรมในวัดซึ่งอาจมีการกระทำที่ไม่สมรวม และอาจเห็นว่าเป็นการลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดแล้ว เมื่อเสร็จกิจกรรมนั้นๆ แล้วก็จะห้าง ขันแก้ว ๕ โกฐาก ไปขอขมาเพื่อขออโหสิในการกระทำที่ดูไม่งามดังกล่าว

ขันดอก

            ขัน ส่วนใหญ่ก็เป็นภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียน เมื่อใช้ในงานใดก็มักจะเรียกชื่องานนั้นๆ ต่อจากคำว่าขันออกไป ขันที่ตั้งไว้ให้คนจำนวนนำดอกไม้มาใส่ก็ต้องใช้ขันที่มีขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่มีทั้งกลึงด้วยไม้สักเรียกว่าขันไม้ ขันที่สานด้วยไม้ไผ่เรียกว่าขันสาน บางแห่งไม่มีขันขนาดใหญ่ใช้ ขันโตก แทนก็มี เช่น การใส่ ขันดอก บูชาเสาหลักเมืองหรือบูชาเสาอินทขีล และบูชาศาลเจ้าพ่อที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์โดยทั่วไปเรียกการนำดอกไม้ไปบูชาเหล่านี้ว่า ใส่ขันดอก

ขันแก้วทัง ๓ ( “ ขันแก้วตัง สาม ” )

            ขันแก้วทัง ๓ หมาย ถึงพานดอกไม้ที่จัดเพื่อบูชา ” แก้วทั้งสามดวง ” อันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ มีใช้กันทั่วไปในภาคเหนือ เป็นขันที่สูงและใหญ่กว่าขันทุกชนิด ตัวขันทำเป็นรูป
            กระบะ ๓ เหลี่ยม มี ๓ ขา บางแห่งทำเป็นรูปกลมก็มี ขันแก้วทัง ๓ ทำด้วยไม้จิงก็ได้สานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ก็ได้ ขันแก้วทัง ๓ ที่ทำด้วยไม้จิง โดยมากจะทำด้วยไม้สัก
            ลักษณะใหญ่ของ ขันแก้วทั้ง๓ นี้ แบ่งได้ ๓ ส่วนคือ ส่วนใบขัน ส่วนเอว และส่วนขา ถ้าทำเป็น
            ขันแก้วทั้ง ๓ ใช้ ใส่ดอกไม้ธูปเทียนบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในงานบุญต่างๆ โดยเฉพาะงานที่จัดขึ้นในวัด สิ่งที่ศรัทธาชาวบ้านที่จะไปร่วมงานบุญในวัดจะขาดไม้ได้คือดกไม้ธูปเทียนที่ จะนำไปใส่ขันแก้วทัง ๓ ทุกคน เมื่อไปถึงในวิหารแล้วหลังจากการกราบจะต้องใส่ขันแก้วทัง ๓ ก่อน ผู้ใส่ขันแก้วทัง ๓ เป็นคนแรกต้องเป็นชาย หญิงจะใส่ก่อนไม่ได้ ถ้าหญิงไปถึงในวิหารก่อนโดยผู้ชายยังไปไม่ถึงหญิงต้องรอผู้ชายไปและใส่ก่อน อย่างน้อย ๑ คน จากนั้นผู้หญิงจึงจะใส่ได้ การใส่ดอกไม้ในขันแก้วทัง ๓ นั้น ถ้าขันเป็นสามเหลี่ยมก็ใส่ตามมุมของกัน ถ้าเป็นขันทรงกลมคนใส่คนแรกก็จะว่างดอกไม้เป็นสามกอง คนต่อไปก็จะวางดอกไม้ตามนั้น การวางดอกไม้ธูปเทียนและมุมจะมีคำกล่าวหรือท่องในใจ มุมแรกว่า อรหํ มุมที่ ๒ ว่า ปจฺจตฺตํ มุมที่ ๓ ว่า ยทิทํ

ขันครู


            ขันครู เป็น ภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียนเครื่องเคารพ ครูบาอาจารย์ที่เคยได้สอนวิชาความรู้ให้ หรือเป็นขันขึ้นครูในเวลาที่ไปสมัครเป็นลูกศิษย์หมอคาถาอาคม เช่น ขึ้นครูในการสักหรือขึ้นครูในการถ่ายทอดรับคาถาอาคมต่างๆ เป็นต้น ขันในประเภทนี้มีรูปทรงกลม ปากผาย มีเอวคอดเป็นขยัก ส่วนตีน ผายออก ใบขันสานด้วยไม้ไผ่ ส่านขาและตีนพันม้วนด้วยตอกทารักลงหางเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดง
 
           สิ่งที่ใส่ในขันครู ประกอบด้วยดอกไม้ธูปเทียนอย่างละ ๖ มีข้าวตอกพองาม นอกจากนั้นจะมีเงินบูชาครูตามกำหนด เช่น ๖ บาท ๑๒ บาท ๑๐๘ บาท ๑ ๓๐๐ บาท โดยมากขันครูนี้จะจัดให้พ่อหมอหรือปู่อาจารย์ก่อนทำพิธีสมัย ปัจจุบันนิยมใส่ขันครูที่ว่างไว้ และเพิ่มอีกส่วนหนึ่งเป็นการสัมมนาคุณอีก กรณีหนึ่ง
            บางตำราใช้ขันธ์ครู เป็นขันธ์ 5 มีเครื่องมงคล 5 อย่าง คือ ดอกไม้ขาว ธูปขาว เทียนขาว ผ้าขาว กรวยใบตอง หนึ่งพานประกอบด้วยผ้าขาว และกรวยดอกไม้ 5 กรวย เทียนใส่กรวยละ 1 คู่ ธูปใส่กรวยละ 3 ดอก โดยขันธ์ 5 นี้จะเป็นตัวแทนขันธ์ทั้ง 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
            ขันครู เป็นเสมือนตัวแทนครู จะเป็นสายไหนก็ต้องมีขันครู สายฤาษี สายล้านนา สายเขมร สายใต้ สายผี สายภูต สายพราย สายเทพ มักมีพานครูตั้งบูชาไว้ อัญเชิญครูบาอาจารย์มาสถิตอยู่ เพื่อจะใช้เพิ่มพลังวิชาอาคมและรักษาวิชาอาคม ทั้งยังปกป้องรักษาตัวผู้เป็นศิษย์อีกด้วย ถ้าไม่มีขันครูจะทำให้การประกอบพิธีต่างๆไม่สำเร็จ จะเกิดอาถรรพ์และขึด หากใช้อาคมเกินตัวอาจจะทำให้ของเข้าตัวถึงตายได้ แต่ถ้ามีขันครูแล้วรักษาไม่ดีของก็เข้าตัวได้เช่นกัน ขันครูต้องตั้งไว้ที่สูงสุดของบ้านที่พักอาศัย ห้าวไว้ในที่ต่ำ หากจะโยกย้ายขันครูต้องห่อผ้าขาวก่อนทกครั้งและถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าย้ายขันครูเด็ดขาด
            ขันครูชั่วคราว (ขั้นตั้ง) คือขันชนิดเดียวกันกับขันตั้ง ขันครูในพิธีต่างๆ เช่นพิธีมงคล พิธีลงเลาเอก ขึ้นบ้านใหม่ ขึ้นครูอาจารย์วัด(มัคคธายก) พิธีแต่งงาน สู่ขวัญต่างๆ ทำขวัญนาค ส่วนงานอวมงคล เช่นพิธีศพสงสการ เป็นต้น ขันครูชั่วคราวนี้จะมีการลาขันเมื่อเสร็จงานเรียกว่า "ปลดขันตั้ง" จนชาวบ้านเอามาเรียกกันติดปากในวงเหล้า
            ขันครูถาวร เป็นขันแบบเดียวกับขันตั้ง แต่ไม่มีการลาขัน เป็นขันครูที่วางบูชาไว้ตลอดทั้งปี ขันครูสำหรับผู้ต้องการจะเล่าเรียนวิชาคาถาอาคม โดยผู้ที่จะเรียนให้ทำพานครู ๑ พาน แล้วทำพิธีเลี้ยงครู ยกขันครู แล้วนำไปบูชา ตั้งเครื่องพลีกรรม น้ำดื่มและดอกไม้ ตามแต่ละสำนัก บางครั้งอาจใช้กำยาน ขันครูนี้จะเปลี่ยนได้เพียงปีละครั้ง ตามกำหนดของแต่ละสถานที่ เช่น วันพญาวัน ในช่วงสงกรานต์ เป็นต้น
ขันครูถาวรมี ๒ ประเภท
๑) ขันน้อย แบ่งเป็น ขัน ๕ , ขัน ๘ , ขัน ๑๒ , ขัน ๑๖ , ขัน ๒๔ , ขัน ๒๘ , ขัน ๓๒
- ขัน ๕ นี้หมายถึง ขันศีล ๕ เป็นขันเบญศีลหรือศีล ๕
- ขัน ๘ นี้หมายถึง ขันศีล ๘ เป็นขันอุโบสถศีลหรือศีล ๘
- ขัน ๑๒ นี้หมายถึง ขันพ่อครู เป็นขันของผู้เป็นครูอาจารย์ลำดับชั้นต้น
- ขัน ๑๖ นี้หมายถึง ขันครูบูชาพระเจ้า ๑๖ พระองค์
- ขัน ๒๔ นี้หมายถึง ขันพ่อครูลำดับที่สอง เป็นขันของผู้เป็นครูอาจารย์ลำดับชั้นสูง
- ขัน ๒๘ นี้หมายถึง ขันครูบูชาพระเจ้า ๑๘ พระองค์
- ขัน ๓๒ นี้หมายถึง ขันพ่อครูลำดับที่สอง เป็นขันของผู้เป็นครูอาจารย์ลำดับชั้นสูง สูงกว่าขัน ๑๒  ขัน ๓๒ นี้ เป็นขันครูใหญ่ไหว้เทวดาทั้งสามโลก และอีกนัยหนึ่งคือ ขันอาการ ๓๒ หมายถึง รูปขันธ์ทั้ง ๓๒ ประการ

๒) ขันหลวง แบ่งเป็น ขัน ๑๐๘ ขัน ๑๐๙ ขัน ๒๒๗ ขัน ๑๐๐๐
- ขัน ๑๐๘
 , ๑๐๙ นี้หมายถึง ขันครูเครื่องใหญ่ เป็นอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมแกร่งกล้า ระดับบรมครู ระดับผู้อาวุโส ขั้นพระสงฆ์ที่มีวิชาแก่กล้า ขั้นเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์
- ขัน ๒๒๗ นี้หมายถึง ขันศีล ๒๒๗

ส่วนประกอบโดยทั่วไปที่ขาดไม่ได้คือ
- หมากแห้ง หมากหมื่น

- ผ้าขาว แทนครูที่ล่วงลับไปแล้ว

- ผ้าแดง แทนครูที่มีชีวิตอยู่

- กรวยดอกไม้ ทำตามจำนวนขันและดอกไม้ ตามแต่สำนักกำหนด





- กรวยพลู (สวยพลู) หมากแห้งใบพลูและสีเสียด ทำตามจำนวนขัน

- เครื่องดื่ม สายผีสาย ภูต พรายมักใช้เหล้า(สุราขาว สุราแดง) 1 ขวด 





- น้ำผึ่ง 1 ขวด สำหรับสายเหล็กไหลจะขาดมิได้


- ข้าวเปลือก ข้าวสาร

- เบี้ยจั่น เบี้ยนาง ใส่ตามจำนวนขัน

- ของทนสิทธิ์ ของศักดิ์สิทธิ์หายาก เป้ง รูปปั้น ลูกแก้ว ประคำ อะไรก็ได้ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร ถ้าฝ่ายพฤติบาตจะมีขอช้าง เชือกคล้องช้าง




- เทียนสีต่างๆตามกำหนดไว้ หรือเทียนขี้ผึ่ง ใส่เป็นคู่หรือตามจำนวนขัน

- ข้าวตอก

- ช่อ คือ ฉัตรหรือธง


- พาน หรือ ขันโตก ไว้สำหรับใส่เครื่องมงคลทั้งหมดที่กล่าวมา


ขันตั้ง

            ขันตั้ง คือ พานชนิดหนึ่งกลึงด้วยไม้จิง ทรงกลม ปากผายออก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ไม่มีขาแต่มีขอบตีน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขันตีนต่ำ อีกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่สานสองลาย รูปทรงและขนาดความกว้างประมาณเท่ากันกับชนิดกลึงด้วยไม้จิง เรื่องขนาดของความกว้าง ความสูง ไม่เป็นมาตรฐานที่แน่นอน
            ขันตั้ง เป็นภาชนะสำหรับใส่เครื่องคำนับ เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู และข้าวของอย่าง อื่นเพื่อให้เป็นของสมนาคุณแก่ผู้ที่มาทำประโยชน์ให้ เช่น หมอ อาจารย์ ผู้ประกอบวิธี หรือช่างซอ หรือนักขับเพลง ปฏิพากย์ เป็นต้น เครื่องบูชาครูและจำนวนอาจจะไม่เหมือนกันทุกพิธี บางพิธีใช้เครื่อง ๔ คือกรวยหมากพลู ๔ กรวยดอกไม้ ๔ หมาก ๔ ขด ๔ ท่อน ใส่เบี้ยใส่เงิน ผ้าขาว ผ้าแดง และสุรา ถ้าเป็นขั้นตั้งที่ใช้ในการบูชาครูจะมีไก่หรือไข่ปิ้งเพิ่มอีกด้วย
            ขันตั้ง โดย ทั่วไป เช่น ขันที่ตั้งให้แก่ช่างผู้ที่จะสร้างวิหาร อุโบสถ กุฏิ สร้างบ้านเรือน มีครัวหรือเครื่องประกอบ ดังนี้ กรวยหมากพลู ๑๒ กรวยดอก ๑๒ หอยเบี้ยอย่างที่ใช้แทนเงินตรา ๑ 
๓๐๐ เบี้ย หมากไหม ๑ ๓๐๐ ผ้าขาวรำ (พับ) ผ้าแดงรำ (พับ ) เหล้า ๑ ๐๐๐ ข้าวเปลือกหนัก ๑๐ ๐๐๐ น้ำ ข้าวสารหนัก ๑ ๐๐๐ น้ำ เงิน ๑๒ บาท เมื่อตั้งขันให้แก่ หัวหน้าช่าง คือเป็นการมอบภาระให้รับผิดชอบแล้ว หัวหน้าช่างก็จะกล่าวอาราธนาอัญเชิญครูบาอาจารย์ให้มาช่วยคุมครองให้ ปลอดภัยในขณะที่ทำก่อสร้าง แล้วนำเอาสาแหรกใส่ขันตั้งแขวนไว้ที่ขื่อของอาคารนั้น เมื่อสร้างอาคารหรือถาวรวัตถุนั้นๆ เสร็จ ทางฝ่ายทางเจ้าภาพจะเปลี่ยนเครื่องคำนับที่เก่าออกใส่ใหม่แล้วหัวหน้าช่างก็ จะทำพิธีกล่าวคำปลดขันตั้ง จานั้นคว่ำขันลงกับพื้นเก็บข้าวของใส่ไว้เหมือนเดิม นำเหล้าขันตั้งมาเปิดเลี้ยงกันกับลูกน้องเป็นการฉลองความสำเร็จ ต่อมาสมัยหลังจนถึงปัจจุบันคงจะหาขันสำหลับเป็นภาชนะใส่เครื่องครัวแบบสมัย ก่อนไม้ได้ จึงใช้ โอ ใช้สุลง ใช้กะละมังแทน เงินค่าครูก็เขยิบราคาขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจหรือเงินค่าครูยังคงเดิมแต่มีส่วน เพิ่มเป็นค่าจ้างตามลักษณะงานและตามยุคสมัย จากการศึกษาของอนุกูล ศิริพันธุ์ พบว่ามีขันตั้งที่จำแนกเป็นระดับต่างๆ ตามจำนวนของเครื่องหรือชุดของเครื่องคารวะ ดังนี้

ขันตั้งเครื่อง ๓
            ใช้ กับงานสร้างเจดีย์และปราสาท จะประกอบด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือ หมาก ๓ ขด จำนวน ๓ท่อน กรวยดอกไม้ ๓กรวย กรวยหมากพลู ๓ กรวย เงิน ๑ เฟื้อง (สลึง ) ขันตั้งเครื่อง ๓ นี้ใช้คู่กับ ขันตั้งเรื่อง ๕ เสมอ โดยตั้ง ขัน๓ ไว้ทางด้านซ้ายของ ขัน ๕

ขันตั้งเครื่อง ๔

            ใช้ เป็นเครื่องอัญเชิญเทพ ในการสร้างสิ่งต่างๆ ทั่วไปถ้าสร้างบ้านจะมีสุราใส่ด้วย ขันตั้งนี้จะประกอบด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือหมาก ๔ ขด จำนวน ๔ ท่อน กรวยดอกไม้ ๔ กรวย กรวยหมากพลู ๔ กรวย ข้าวสาร ๑ กระทง น้ำส้มป่อย ๑ ที่ เงินตามฐานะ(ไม่ใส่ก็ได้) เทียนเหลืองหรือเทียนขาว ๔ คู่
            ถ้า ใช้ในการขึ้นท้าวทั้งสี่ จะทำให้เป็นสะทวง ๖ อัน แต่ละอันบรรจุข้าว ๔ คำ อาหาร ๔ ชิ้น (เนื้อหรือเนื้อปลา) แกงส้ม และแกงเขียวหวานอย่างละ ๔ ชุด ผลไม้หวาน ๔ คำ หมากพลูเมี่ยง ๔ ชุด น้ำ ๔ กระทง ดอกไม้ธูปเทียน ๔ ชุด ช่อสีดำเหลืองแดงขาวเขียว ๔ ชุด ใส่ตามกำหนด

ขันตั้งเครื่อง ๕

            ใช้ ประกอบกับ ขันตั้งเครื่อง ๓ ในการสร้างถาวรวัตถุในวัด ขันตั้งนี้ประกอบด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือ ดอกไม้ ๕ ก้าน เทียน ๕ แท่ง และข้าวตอก ๑ ขัน

ขันตั้งเครื่อง ๘

             เป็นขันอธิฐานหรือสมาทาน เป็นขันเทวดา ใช้เป็นของของครูอาจารย์ ใช้รักษาปัดแก้หรือถอนต่างๆ ในการเทศน์การสวด สืบชาตา สังฆทาน การศพ ถ้าเป็นงานทางด้านศาสนาจะไม่มีเหล้า แต่หากเป็นพิธีแก้เสนียด หรือการกระทำที่รุนแรง เช่น ตัดงาช้างจะต้องใช้เนื้อและเหล้าด้วย นอกเหนือจากของที่กำหนดคือหมาก ๘ ขด จำนวน ๔ ท่อน กรวยดอกไม้ ๘ กรวย กรวยหมากพลู ๘ กรวย หมาก ๑ ๓๐๐ เบี้ย๑ ๓๐๐ ข้าวเปลือก ๑๐ ๐๐๐ (๑ ถัง ) ข้าวสาน ๑ ๐๐๐ (๑ ลิตร ) เทียนใหญ่และเทียนเฟื้องอย่างละคู่ ผ้าขาว ๑ พับ ผ้าแดง ๑ พับ เงิน ๓๒ บาท ทั้งนี้ ถ้าเป็นงานตัด แก้ หรือสร้าง จะต้องมีมะพร้าว ๑ทะลาย กล้วย๑ เครือ

ขันตั้งเครื่อง ๑๒

            ใช้กับงานด้านความเป็นครูอาจารย์หรืองานของบ้านของเมือง เป็นขันของ พ่อครูชั้นปฐม ขันตั้งนี้ประกอบด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือ หมาก ๑๒ กรวย (ไว้ด้านขวา) ดอกไม้ ๑๒ กรวย (ไว้ด้านซ้าย) กล้วย ๑ เครือ มะพร้าว ๑ ทะลาย ผ้าขาว ๑ พับ ผ้าแดง ๑ พับ เทียนแท่งละบาทกับแท่งละเฟื้องอย่างละ ๑๒ ข้าวเปลือก ๑๐ ,๐๐๐ (๑ถัง ) ข้าวสาร ๑ ๐๐๐ (๑ลิตร ) หมาก ๑ ๓๐๐ เบี้ย ๑ ๓๐๐ หมาก ๑๒ ชด จำนวน ๓๒ ท่อน

ขันตั้งเครื่อง ๒๔

            (บางท่านถือเป็นขันครูลำดับที่สองสูงกว่า ขันเครื่อง ๑๒ ) การให้ความหมายในทางศาสนา คือ การบูชาพระอภิธรรมมักจะเป็นขันตั้งที่บ่งบอกให้รู้ถึงความสามารถของผู้เรียนอยู่ในขั้นที่สามารถนาไปใช้ได้ มักจะใช้กับงานพิธีไหว้ครูหรือยกครูของหมอยารักษาโรค หรือหมอดูทางโหราศาสตร์

ขันตั้งเครื่อง ๓๒

            ใช้ไหว้ครูงานใหญ่ ไหว้เทวดารวมในโลกทั้งสาม เป็นขันของ พ่อครู ลำดับสองขันตั้ง นี้ จะประกอบไปด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือ หมาก ๓๒ ขด จำนวน ๓๒ ท่อน เบี้ย ๑ หมื่น หมาก ๑ หมื่น ผ้าขาวผ้าแดงอย่าละพับหรือวา เทียน ๓๒ คู่ กรวยดอกไม้ ๓๒ กรวย กรวยหมากพลู ๓๒ กรวย เทียนแท่งละบาทและแท่งละเฟื้อง เหล้า ๑ ไห (๑ ขวด) เงิน ๓๖ บาท

ขันตั้งเครื่อง ๓๖ 

            เป็นขันตั้งขั้นลำดับสาม หรือขั้นตติยธาตุ หรือการให้ความหมายรวม การบูชาเทพใน ๓ โลก คือ พระวิษณุ
พระศิวะ และพระพราหมณ์ตรีมูรติ มันจะเป็นขันตั้งที่บ่งบอกให้รู้ถึงการฝึกฝนการเรียนในวิชานั้นๆ ถึงขั้นที่สามารถนาไปใช้และสามารถนำไปสอนผู้อื่นได้ถือว่าเป็นครูอย่างเต็มตัว มักจะใช้กับงานพิธีไหว้ครูหรือยกครูของหมอยารักษาโรค หรือหมอดูทางโหราศาสตร์

ขันตั้งเครื่อง ๑๐๘

            เป็น เครื่องใหญ่สำหรับอาจารย์ที่มีวิชามาก (ไสยศาสตร์) หรือระดับบรมครู ขั้นพระสงฆ์ที่มีวิชาแก่กล้า ขั้นเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์
            ขันตั้ง ระดับ นี้ประกอบด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือ หมากสาย ๑๓๐ สาย หมากขด ๑๐๘ ขด กรวยหมากพลู ๑๐๘ กรวย กรวยดอกไม้ธูปเทียน ๑๐๘ กรวย ผ้าขาวผ้าแดงอย่าละ ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ เบี้ย ๑๐๘ เงิน ๑๐๘ บาท เหล้า ๑ หมื่น (๑ ขวด) มะพร้าว ๑ ทะลาย กล้วย ๑ เครือ ข้าวสาร ๑ ถัง ข้าวเปลือก ๑ ถัง น้ำตาล ๑ ถัง น้ำอ้อย ๑ ถัง น้ำผึ้ง ๑ ถัง อ้อย ๑ ลำ หน่อกล้วย หน่ออ้อย หน่อเผือกมัน อย่างละ ๑ หน่อ ถั่วดำ ถั่วแดง งาดำ อย่างละ ๑ กลัก

ขันตั้งเครื่อง ๑๐๐๐

            จะใช้สำหรับงานต่อเศียรพระ ต่อยอดพระเจดีย์ ต่อยอดปราสาทหรือคุ้มวัง ขันตั้ง นี้ จะประกอบด้วยพานที่มีเครื่องคารวะ คือ กรวยดอกไม้ ๑๐๐๐ กรวยหมากพลู ๑๐๐๐ เบี้ย ๑๐๐๐ ข้าวสาร ๑ หมื่น ข้าวเปลือก ๑ แสน หมากแห้งที่ร้อยเป็นสาย ๓๒ สาย เทียนแท่งละบาทและแท่ละเฟื้อง ผ้าขาวผ้าแดงอย่างละพับ มะพร้าว ๑ ผล กล้วย ๑ หวี เงิน ๑๐๘ บาท

คำโยงขันตั้ง สำนวนที่1
                            สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิย ตถาคโต สิทธิเตโช
                            ชโยนิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตรัง สัพพสิทธิปสิทธิเม

คำโยงขันตั้ง สำนวนที่2
                            สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิลาโภ ชโย นิจจัง
                           พุทธังสิทธิธัมมังสิทธิสังฆังสิทธินมามิรัตนัตตยัง
                           พุทธคุณัง ธัมมคุณัง
สังฆคุณัง อหังวันทามิสัพพทา

คำโยงขันตั้ง สำนวนที่3
                        โอมสิทธิการ ครูบาอาจารย์เจ้ากูมีทังครูเทพเมืองลาว
                 ครูผ้าขาวเมืองใต้ครูเทพพะไท้ไตรปิฏะกะลังกา ตักกสีลา
                 ครู
พระกูม ครูพระกัน ครูพระกูมกัณฑ์คันธัพพะยักษ์ตนเปนพระยากั้ง
                 พระยาบัง จุ่งมาระวังรักษา
ตรีนิสิงเห สัตตนาเค ปัญจะพิษณุนเมวัจจะ
                 เอกะยักขา นวเทวา ปัญจพรัหมา นมามิหังปัตติทเวราชา อัฏฐะอรหันตา
                 ปัญจะ พุทธา นมามิหัง พุทธระวัง ธัมมระวัง สังฆระวังวิดวัง บังสวาหับ
                 สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิลาภัง สิทธิเตชะเชยยัง สิทธิตถาคโต
                 สิทธิอิติปิโสภควา นโมพุทธายะ มะอะอุสิวัง สิทธิ
                 คุณโณ ภวันตุเม โอมเหเต เยวสัพพสิทธิสวาหะ

คำต่อท้ายโยงขันตั้ง
                   พุทธคุณัง อาราธนานัง ธัมมคุณัง อาราธนานัง
                   สังฆคุณัง อาราธนานัง อาจาริยคุณัง อาราธนานัง
                   มาตาปิตาคุณัง
อาราธนานัง สัพพคุณานิจะ อาราธนานัง
                   พุทธัง ปะสิทธิเม ธัมมัง ปะสิทธิเม สังฆัง ปะสิทธิเม
                   อาจาริยัง ปะสิทธิเม มาตาปิ 
ตะโร ปะสิทธิเม
                   สัพพคุณัง ปะสิทธิเม สิระสัง เมติฏะฐะตุ
                   ขออาราธนาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
                   คุณครูบาอาจารย์คุณพ่อแม่และคุณทังหลายทังปวง
                   จุ่งมาตั้งอยู่
กระหม่อมจอมหัวแห่งข้า ปะสิทธิจุ่งหื้อสาเร็จ
                   สัพพกิจทังมวลแก่ผู้ข้าเที่ยงแท้ดีหลีแด่เต๊อะฯ

คำปลดขันตั้ง หรือปลงขันตั้ง
           หลังจากทาพิธีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการปลดขันตั้งหรือปลงขันตั้ง
โดยเจ้าพิธีจะยกขันตั้งขึ้นเสมอศีรษะ แล้ว
กล่าวคำปลดขันตั้งดังนี้
                       พุทธัง ปัจจักขามิ ธัมมัง ปัจจักขามิ สังฆัง ปัจจักขามิ
                       อาจริยคุณังปัจจักขามิสัพพคุณานัง ปัจจักขามิอหังวันตามิสิระสา
              บัดนี้ผู้ข้าก็ได้กระทำพิธีสำเร็จเสร็จบัวระมวลดีแล้ว จักขอปลงยังคุณครูบาอาจารย์ไว้กระหม่อมจอมขวัญแห่งผู้ข้าก่อนแล แล้วจึงคว่ำขันลง หรือวางขันตั้งไว้เก็บเอาสิ่งที่เราจะเอานอกนั้นอนุญาตให้เขาเป็นเสร็จพิธี